ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ นครศรีฯ
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ: แห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ: แห่ผ้าขึ้นธาตุ: กว่า 800 ปีที่ ประเพณีแห่ผ้าบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ หรือ “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ได้รับการสืบสานมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นอีกเอกลักษณ์ประจำเมื...
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ผ้าพระบฏ
เครื่องพุทธบูชา ผ้าพระบฏ
ผ้าพระบฏเป็นหนึ่งในเครื่องบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาว พุทธทั่วโลกมาเนิ่นนาน ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีตำนานเขียนภาพว่าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลขอพระพุทธฉายจากพระพุทธเจ้าเพื่อ สักการบูชา และพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธฉายประทับบนผืนผ้าผืนหนึ่งพร้อมการระบายด้วย สีต่างๆ จนสืบต่อการทำภาพบนผืนผ้าอย่างกว้างขวางถึงประเทศทิเบต จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ยังนิยมเขียนภาพพระพุทธเจ้าและอื่นๆ ลงบนผืนผ้าในทุกวันนี้
ส่วนที่นครศรีธรรมราช เมื่อรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา ก็ได้รับเอาความเชื่อเรื่องผ้าพระบฏเข้ามาด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ก่อนจะเริ่มพิธีสมโภชพระบรมธาตุไม่กี่วัน ได้มีคลื่นซัดผ้าแถบผืนหนึ่งที่มีลวดลายเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้น ที่หาดปากพนัง ชาวบ้านได้เก็บขึ้นมาแล้วส่งมาทูลเกล้าฯถวายพญาศรีธรรมโศกราช ที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปรากฏว่าเป็นของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งที่นำลงเรือจะไปถวายพระทันตธาตุที่ ลังกา แต่เกิดมรสุมทำให้เรือแตกเสียก่อน พญาศรีธรรมโศกราชจึงโปรดให้ชาวเมืองจัดเครื่องประโคมแห่แหนขึ้นห่มองค์พระ บรมธาตุเจดีย์ และให้ทำสืบเนื่องมา จนกลายเป็นประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุอย่างทุกวันนี้
สำหรับผ้าพระบฏนั้น คำว่า “บฏ” มีรากศัพท์ในภาษาบาลีว่า “ปฏ” (อ่าน ว่า ปะ-ตะ) ซึ่งหมายถึงผ้าทอ ผืนผ้า แต่ตามความหมายของไทยนั้น ผ้าพระบฏ คือผ้าผืนสี่เหลี่ยมขนาดยาว ที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาดก ตลอดจนข้อคติธรรมคำสอน สำหรับห้อยแขวนเป็นพุทธบูชา
ในประเทศไทย นอกจากจะมีที่นครศรีธรรมราชแล้ว ในภาคอื่นๆ ก็ยังมีอยู่เช่นกัน แต่ก็ลดถอยบทบาทลงไปแล้ว เช่นในภาคเหนือ ที่มีลักษณะเป็นตุง หรือธง ภาคอีสาน จะมีในงานบุญผะเหวด หรือในภาคกลาง ก็จะพบในงานบุญเทศน์มหาชาติ
สมัยก่อน ผ้าพระบฏที่นำขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จะเป็นผ้าผืนยาว เขียนจิตรกรรมไทยเป็นภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปปางต่างๆ และพุทธประวัติ เสร็จแล้วนำไปตกแต่งชายขอบผ้า ประดับประดาด้วยริบบิ้น พู่ห้อย ดอกไม้ หรือลูกปัดสีต่างๆ อย่างสวยงาม แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะทำเป็นผ้าผืนยาวเรียบๆ ไม่มีการเขียนรูป เนื่องจากช่างที่มีฝีมือมีจำนวนน้อยลง ชาวพุทธนิยมใช้ผ้า 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีแดง นำไปห่มรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์
ผ้าพระบฏเป็นหนึ่งในเครื่องบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาว พุทธทั่วโลกมาเนิ่นนาน ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีตำนานเขียนภาพว่าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลขอพระพุทธฉายจากพระพุทธเจ้าเพื่อ สักการบูชา และพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธฉายประทับบนผืนผ้าผืนหนึ่งพร้อมการระบายด้วย สีต่างๆ จนสืบต่อการทำภาพบนผืนผ้าอย่างกว้างขวางถึงประเทศทิเบต จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ยังนิยมเขียนภาพพระพุทธเจ้าและอื่นๆ ลงบนผืนผ้าในทุกวันนี้
ส่วนที่นครศรีธรรมราช เมื่อรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา ก็ได้รับเอาความเชื่อเรื่องผ้าพระบฏเข้ามาด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ก่อนจะเริ่มพิธีสมโภชพระบรมธาตุไม่กี่วัน ได้มีคลื่นซัดผ้าแถบผืนหนึ่งที่มีลวดลายเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้น ที่หาดปากพนัง ชาวบ้านได้เก็บขึ้นมาแล้วส่งมาทูลเกล้าฯถวายพญาศรีธรรมโศกราช ที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปรากฏว่าเป็นของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งที่นำลงเรือจะไปถวายพระทันตธาตุที่ ลังกา แต่เกิดมรสุมทำให้เรือแตกเสียก่อน พญาศรีธรรมโศกราชจึงโปรดให้ชาวเมืองจัดเครื่องประโคมแห่แหนขึ้นห่มองค์พระ บรมธาตุเจดีย์ และให้ทำสืบเนื่องมา จนกลายเป็นประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุอย่างทุกวันนี้
สำหรับผ้าพระบฏนั้น คำว่า “บฏ” มีรากศัพท์ในภาษาบาลีว่า “ปฏ” (อ่าน ว่า ปะ-ตะ) ซึ่งหมายถึงผ้าทอ ผืนผ้า แต่ตามความหมายของไทยนั้น ผ้าพระบฏ คือผ้าผืนสี่เหลี่ยมขนาดยาว ที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาดก ตลอดจนข้อคติธรรมคำสอน สำหรับห้อยแขวนเป็นพุทธบูชา
ในประเทศไทย นอกจากจะมีที่นครศรีธรรมราชแล้ว ในภาคอื่นๆ ก็ยังมีอยู่เช่นกัน แต่ก็ลดถอยบทบาทลงไปแล้ว เช่นในภาคเหนือ ที่มีลักษณะเป็นตุง หรือธง ภาคอีสาน จะมีในงานบุญผะเหวด หรือในภาคกลาง ก็จะพบในงานบุญเทศน์มหาชาติ
สมัยก่อน ผ้าพระบฏที่นำขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จะเป็นผ้าผืนยาว เขียนจิตรกรรมไทยเป็นภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปปางต่างๆ และพุทธประวัติ เสร็จแล้วนำไปตกแต่งชายขอบผ้า ประดับประดาด้วยริบบิ้น พู่ห้อย ดอกไม้ หรือลูกปัดสีต่างๆ อย่างสวยงาม แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะทำเป็นผ้าผืนยาวเรียบๆ ไม่มีการเขียนรูป เนื่องจากช่างที่มีฝีมือมีจำนวนน้อยลง ชาวพุทธนิยมใช้ผ้า 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีแดง นำไปห่มรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์
แห่ผ้าขึ้นธาตุ
กว่า 800 ปีที่ประเพณีแห่ผ้าบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ หรือ “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ได้รับการสืบสานมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นอีกเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งหมายถึงการนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ตามความเชื่อของชาวพุทธที่ยึดถือกันว่า การทำบุญหรือการบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริงๆ จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์หรือให้ใกล้ชิดพระพุทธองค์มากที่สุด โดยการกระทำต่อสัญลักษณ์แทนพระองค์ เช่น สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป หรือพระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายใน
ตาม ตำนานตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้กล่าวถึงการแห่ผ้าขึ้นธาตุไว้ว่าในสมัยพระเจ้า ศรีธรรมาโศกราช(พระเจ้าจันทรภาณุ) กษัตริย์ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้ทำการก่อสร้างและบูรณะพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เรียก ว่า “พระบรมธาตุ” ขณะที่เตรียมการสมโภชมีเหตุการณ์คลื่นชัดผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีลายภาพ เขียนพุทธประวัติลอยมาขึ้นฝั่งที่ชายหาดปากพนัง หลังชาวบ้านเก็บผ้าไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงรับสั่งให้ซักผ้าจนสะอาด แต่ลายเขียนก็ไม่ลบเลือนออกไป จึงรับสั่งให้หาเจ้าของสืบพบว่าต่อมาเป็นของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งจากเมืองหง สาวดีกำลังจะเดินเรือสำเภา เพื่อนำผ้าผืนนี้ไปสักการะบูชาพระบาทที่กรุงลังกา แต่ถูกพายุซัดเรือแตกและมีผู้รอดชีวิตเพียง 10 คน พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงเห็นว่าควรนำผ้าผืนนี้ที่ต่อมาเรียกกันว่า ”ผ้าพระบฏ” ไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชผู้รอดชีวิตเหล่านี้ก็ยินดี พร้อมใจกันถวาย ดังนั้น “การแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ที่หมายถึงการแห่ผ้าผืนยาวไปสักการะบูชาพระสัมมาพุทธเจ้าโดยนำขึ้นห่มโอบ ล้อมรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จึงมีมาตั้งแต่นั้นและได้สืบสานปฏิบัติต่อมาจนกลายเป็นประเพณีประจำปีของชาว นครศรีธรรมราช
สำหรับประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุนั้น ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาต่างหลั่งไหลกันมาทำพิธีตลอดทั้งปีไม่ ขาดสาย ซึ่งชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันยกระดับให้ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นงานสำคัญประจำปีระดับนานชาติ โดยจัดเป็นรูปแบบสีสันงานบุญ ผสานการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม โดยจัดงานสมโภชตลอดสัปดาห์มหากุศลช่วงมาฆะบูชา และวันวิสาขบูชาที่ถือเป็นวันรองลงไป ซึ่งประชาชนจากทั่วทุกสารทิศที่มาร่วมงานจะแห่ขบวนผ้ามาถึงวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ก่อนแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วจึงนำผ้าเข้าสู่วิหารพระม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าพระบฏขึ้นห่มโอบรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)